บทบาทนักเทคโนโลยีการศึกษาในฐานะผู้เชี่ยวชาญด้านสื่อ
![]() Man in LibraryDescribe your image. | ![]() Girls StudyingDescribe your image. |
---|---|
![]() Online LearningDescribe your image. | ![]() 11667430_10153033859757283_4574521388415209281_nDescribe your image. |
![]() imagesDescribe your image. | ![]() japan-classroom4Describe your image. |
![]() children-read-bookDescribe your image. | ![]() 20141003-1412303924.87-2Describe your image. |
![]() r_11852Describe your image. | ![]() ImageDescribe your image. |
![]() 37Describe your image. | ![]() รู้หรือไม่-การเข้าเรียนเช้าเกินไป-ส่งผลให้การเรียนแย่ลง-1Describe your image. |
![]() learn02Describe your image. |
เทคโนโลยีการศึกษาพัฒนามาจากโสตทัศนศึกษา (Audio-Visual Education) ซึ่งเป็นศาสตร์ที่มีความเกี่ยวข้องโดยตรงกับการเลือกใช้สื่อเพื่อการเรียนรู้ นักเทคโนโลยีการศึกษาจึงมีความจำเป็นต้องเป็นผู้ที่มีความรู้ความเข้าใจหลักการการใช้สื่อ วิธีการสอน และการประเมินสื่อได้เป็นอย่างดี อีกทั้ง
ต้องพัฒนาตัวเองให้มีศักยภาพและบุคลิกภาพตลอดจนการสื่อสารให้เป็นที่ยอมรับ เนื่องจากนักเทคโนโลยีการศึกษาเป็นผู้เผยแพร่ให้กับครูและบุคลากรทางการศึกษาที่ต้องการพัฒนาการเรียน
การสอน เพื่อให้คำแนะนำที่ถูกต้องแก่ผู้ที่จะนำสื่อไปใช้ในการเรียนการสอน ปัญหาที่สำคัญคือปัจจุบันเทคโนโลยีสารสนเทศและคอมพิวเตอร์เข้ามีบทบาทเป็นสื่อและแหล่งเรียนรู้ก้าวไกลและเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว นักเทคโนโลยีต้องติดตามศึกษาให้รู้ทันเทคโนโลยีเหล่านั้นเพื่อจะได้เข้าใจและ
เห็นแนวทางที่เหมาะสมในการนำมาใช้เป็นสื่อในการเรียนการสอน โดยต้องออกแบบและพัฒนากระบวนการใช้สื่ออย่างเป็นระบบและสอดคล้องกับพฤติกรรมการเรียนรู้ของผู้เรียน ต้องขอติงไว้ ณ ที่นี้ว่านักเทคโนต้องเป็นผู้รู้ทันเทคโนโลยีและนำมาออกแบบการใช้ได้อย่างถูกต้อง อย่าหลงไปให้
ความสำคัญจนหลงไปเป็นนักคอมพิวเตอร์ซึ่งเป็นผู้มีความรู้ความสามารถทางปฏิบัติเชิงเทคนิค
(เปรียบบทบาทหน้าที่ที่แตกต่างกันอย่างเห็นได้ชัดเจนระหว่างสถาปนิกกับช่างก่อสร้าง) นอกจากนี้จำเป็นต้องมีความรู้ความสามารถในการบริหารจัดการหน่วยงานเทคโนโลยีการศึกษาในระดับต่างๆ
ให้มีประสิทธิภาพ เพราะเทคโนโลยีการศึกษาเป็นหน่วยงานสำคัญทางการศึกษาที่จะส่งผลโดยตรง
ต่อคุณภาพการศึกษาเช่นกัน ดังจะเห็นได้จากการให้ความสำคัญไว้ในพระราชบัญญัติการศึกษา
ซึ่งผ่านมาเกือบ 20 ปีแล้วยังไม่สามารถทำให้มีบทบาทตามกฎหมายได้เลย
สมาคมเทคโนโลยีการศึกษาแห่งประเทศไทย
ได้เคยพยายามผลักดันให้ กระทรวงศึกษาธิการเห็นความสำคัญ
และเข้าใจบทบาททางการศึกษาของนักเทคโนโลยีการศึกษาอย่างแท้จริง
โดยยกระดับวิชาชีพนักเทคโนโลยีการศึกษาให้เป็นวิชาชีพชั้นสูงเฉพาะ มีความมั่นคงและก้าวหน้า
ไม่ใช่เป็นเพียงสายสนับสนุนเท่านั้น อีกทั้งยังจำเป็นที่ต้องมีนักเทคโนโลยีการศึกษา
เพื่อเป็นผู้แนะนำในการออกแบบการเรียนการสอนให้กับครูในอัตราส่วน
ครู 25 คน : นักเทคโนโลยีการศึกษา 1 คน
หรืออย่างน้อยควรมีนักเทคโนโลยีการศึกษาประจำโรงเรียนละ 1 คน
แต่เนื่องจากเปลี่ยนแปลงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาบ่อยมากจนไม่มีการสานงานต่อเนื่อง จึงเป็นภาระสำคัญที่
พวกเรานักเทคโนโลยีการศึกษาต้องร่วมมือร่วมใจกัน ผลักดันให้เกิดผลในทางปฏิบัติ มิใช่เพื่อตัวเราเอง
แต่เพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาของชาติ
