top of page

การออกแบบระบบการศึกษา

การออกแบบระบบการศึกษา เป็นองค์ประกอบหนึ่งในการวางแผนและ

การจัดระบบทางการศึกษา ให้สามารถดำเนินการไปสู่ความสำเร็จ

ตามวัตถุประสงค์ และก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด
โดยใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างเหมาะสม

ขั้นตอน

ขั้นตอนที่ 1 การศึกษาแนวคิดพื้นฐาน

เกี่ยวกับระบบที่จะออกแบบ ครอบคลุมนโยบายการศึกษาของชาติและระดับท้องถิ่น สภาพสังคม เศรษฐกิจ ศิลปะ และวัฒนธรรม สิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติที่มีผลกระทบในการออกแบบระบบทางการศึกษา

ขั้นตอนที่ 2 กำหนดวัตถุประสงค์

เป็นวัตถุประสงค์ที่ตรงประเด็นปัญหา นักออกแบบระบบการศึกษาสามารถจะวัดประเมินผลลัพธ์ และผลย้อนกลับของระบบได้โดยง่าย การกำหนดเป้าหมายของระบบการศึกษาจะต้องตรวจสอบให้สอดคล้องกับความต้องการของสังคมกลุ่มเป้าหมาย

ขั้นตอนที่ 3 กำหนดประเด็นปัญหา

ศึกษาระบบการศึกษาที่มีอยู่แล้ว เพื่อเป็นการรวบรวมปัญหาและแนวคิดทั้งหมดที่เกี่ยวข้อง อันมีผลทำให้เป็นอุปสรรคและไม่สามารถบรรลุเป้าหมายของระบบอยู่ในปัจจุบัน หรืออาจเป็นเพราะทรัพยากรที่จะใช้เป็นปัจจัยนำเข้าเปลี่ยนแปลงไปหรือความต้องการของสังคมเปลี่ยนแปลงไป ผู้ออกแบบระบบจะต้องวิเคราะห์ปัญหาเหล่านี้และจัดลำดับความสำคัญของปัญหานี้เป็นขั้นตอนของการกำหนดประเด็นของปัญหา โดยคณะบุคคลฝ่ายต่างๆ ที่มีความรู้ ความเชี่ยวชาญในเรื่องเหล่านั้น

ขั้นตอนที่ 4 กำหนดปัจจัยนำเข้า

อันได้แก่ ทรัพยากรในระบบและนอกระบบการศึกษา คน เงิน วัสดุ การจัดการ ปรัชญา สังคม ศิลปะ วัฒนธรรม ค่านิยม และอื่นๆ ที่สามารถใช้เป็นปัจจัยนำเข้าในการออกแบบระบบทางการศึกษาเท่าจำเป็น

ขั้นตอนที่ 5 การกำหนดกระบวนการ

กำหนดแนวทางที่ดีที่สุด และปฏิบัติได้จริงในสถานการณ์ปัจจุบัน บรรลุวัตถุประสงค์ของการศึกษา โดยใช้ทรัพยากรที่เป็นปัจจัยนำเข้าอย่างประหยัดที่สุด สามารถจำลองระบบได้ตรง สั้น และสะดวกต่อการจัดระบบที่สุด

ขั้นตอนที่ 6 กำหนดการประเมินผลและผลย้อนกลับ

พิจารณาตามวัตถุประสงค์ของระบบที่กำหนดไว้สูงกว่าเกณฑ์ควบคุมคุณภาพทั้งด้านปริมาณและคุณภาพ รวมถึงความรู้ความสามารถ ปัญญา ร่างกาย จิตวิญญาณของคน ดังนั้น นักออกแบบระบบการศึกษาล้วนมีความรู้ลึกซึ้งและละเอียดอ่อนในขั้นตอนการออกแบบขั้นนี้เป็นอย่างมาก

ขั้นตอนที่ 7 กำหนดรูปแบบทางเลือก

ของระบบจำลองเป็นการกำหนดนักออกแบบระบบทางการศึกษา จะกำหนดรูปแบบที่สามารถนำไปจัดหรือใช้ได้อย่างเหมาะสม และสามารถถ่ายทอดความคิดในการออกแบบระบบการศึกษานั้น ให้นักจัดระบบและผู้ใช้ระบบทางการศึกษาเข้าใจได้อย่างชัดเจน

ขั้นตอนที่ 8 การเขียนแบบจำลองระบบการศึกษา

เป็นการสื่อสารระหว่างนักออกแบบระบบกับผู้จัดและผู้ใช้ระบบการศึกษาด้วยแบบจำลองที่เหมาะสม เช่น แบบจำลองสัญลักษณ์หรือแบบจำลองแนวคิด เป็นต้น

ขั้นตอนที่ 9 การทดสอบแบบจำลองระบบการศึกษา

โดยทดสอบระบบในสถานการณ์จำลอง

© 2016 created by Ms.Praewpun Petprom Burapha University, Chonburi, Thailand

bottom of page